เมนู

อธิบายว่า ธรรม 2 คือ อวิชชา และตัณหา พึงทราบว่าเป็นมูล
แห่งภวจักรนี้นั้นแล. ภวจักรนี้นั้นจึงมี 2 อย่าง คือ อวิชชาเป็นมูลมีเวทนา
เป็นที่สุดเพราะนำมาแต่ส่วนเบื้องต้น ตัณหาเป็นมูลมีชรามรณะเป็นที่สุดเพราะ
สืบต่อในส่วนเบื้องปลาย บรรดาภวจักรทั้ง 2 นั้น ภวจักรแรก ตรัสด้วยอำนาจ
แห่งบุคคลผู้มีทิฏฐิจริต ภวจักรหลัง ตรัสด้วยอำนาจบุคคลผู้มีตัณหาจริต.
เพราะว่า บุคคลทั้งหลายผู้มีทิฏฐิจริต อวิชชาเป็นตัวนำไปสู่สังสาร แต่บุคคล
ผู้มีตัณหาจริต ตัณหาเป็นตัวนำไปสู่สังสาร.
อีกนัยหนึ่ง ภวจักรแรกตรัสไว้เพื่อถอนอุจเฉททิฏฐิ เพราะทรงประกาศ
การไม่ตัดขาดแห่งเหตุทั้งหลายของความเกิดขึ้นแห่งผล ภวจักรที่ 2 ตรัสเพื่อ
ถอนสัสสตทิฏฐิ เพราะทรงประกาศชรามรณะของพวกสัตว์ที่เกิดขึ้น.
อีกนัยหนึ่ง ภวจักรแรกตรัสด้วยอำนาจแห่งสัตว์ผู้เกิดในครรภ์ เพราะ
ทรงแสดงความเป็นไปโดยลำดับ (อายตนะที่เกิด) ภวจักรหลัง ตรัสด้วย
อำนาจแห่งสัตว์ผู้เป็นโอปปาติกะ เพราะทรงแสดงความเกิดขึ้นพร้อมกัน (แห่ง
อายตนะ).

อธิบายกาล 3


อนึ่ง กาลของภวจักรนั้น มี 3 คืออดีต ปัจจุบัน และอนาคต
ในกาลเหล่านั้น ว่าด้วยอำนาจกาลที่มาในพระบาลีโดยสรุป พึงทราบว่ามีองค์
2 คือ อวิชชาและสังขาร เป็นอดีตกาล. องค์ 8 มีวิญญาณเป็นต้น มีภพ
เป็นที่สุด* เป็นปัจจุบันกาล. และองค์ 2 คือ ชาติ และชรามรณะ. เป็นอนา-
คตกาล และพึงทราบอีกว่า
* อรรถกถาว่า ภวาสวานิ. แต่ฉบับ ม. ว่า ภวาวสานานิ

อธิบายสนธิ 3


ก็ภวจักรนี้มีสนธิ 3 คือ เหตุผล-
สนธิ 11 ผลเหตุสนธิ 1 เหตุ 3 เหตุปุพพกผลสนธิ 1
และมีสังคหะ 4 ประเภท คือ อาการ 20
มีวัฏฏะ 3 ย่อมหมุนไปไม่มีกำหนด

ดังนี้.
บรรดาภวจักรเหล่านั้น ในระหว่างสังขารทั้งหลายและปฏิสนธิวิญญาณ
เป็นสนธิหนึ่ง ชื่อว่า เหตุผลสนธิ. ในระหว่างเวทนาและตัณหา เป็นสนธิหนึ่ง
ชื่อว่า ผลเหตุสนธิ. ในระหว่างภพและชาติ เป็นสนธิหนึ่ง ชื่อว่า เหตุปุพพก
ผลสนธิ.
เพราะฉะนั้น ภวจักรนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า มีสนธิ 3 คือ เหตุผล
สนธิ 1 ผลเหตุสนธิ 1 และเหตุปุพพกผลสนธิ 1 ดังนี้ ด้วยประการฉะนี้.

อธิบายสังคหะ 42


อนึ่ง ภวจักรนี้ มีสังคหะ 4 ซึ่งกำหนดถือเอาภวจักรตั้งแต่เบื้องต้น
(คืออวิชชา) และที่สุด (คือชรามรณะ) แห่งสนธิทั้งหลาย. ข้อนี้เป็นอย่างไร ?
คือ อวิชชาและสังขาร เป็นสังคหะที่ 1 วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ
และเวทนา เป็นสังคหะที่ 2 ตัณหา อุปาทาน และภพ เป็นสังคหะที่ 3
ชาติชรามรณะ เป็นสังคหะที่ 4 พึงทราบว่า ภวจักรนี้มีสังคหะ 4 ประเภท
ด้วยประการฉะนี้.
1 เหตุผลสนธิอันแรก ได้แก่ สังขารเป็นเหตุอดีตต่อกับวิญญาณซึ่งเป็นผลในปัจจุบัน ผลเหตุ
สนธิที่ 2 ได้แก่ เวทนาซึ่งเป็นปัจจุบันผลต่อกับตัณหาในปัจจุบันเหตุ และเหตุผลสนธิสุดท้าย
ได้แก่ ภพเป็นปัจจุบันเหตุต่อกับชาติอันเป็นอนาคตผล.
2 คำว่า สังคหะ 4 ในอภิธัมมัตถสังคหะ ท่านเรียกว่า สังเขป 4